Author - admin@chokchaiwarehouse.com

ข้อดีของธุรกิจ SME

ในปัจจุบัน มีธุรกิจเกิดขึ้นมากมายทั้งขนาดเล็ก กลางจนไปถึงขนาดใหญ่ แต่ธุรกิจที่ได้รับความนิยมและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็คือธุรกิจ SME ธุรกิจ SME ทำให้เกิดการกระจายตัวของของรายได้เป็นอย่างดี และยังสามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นด้วย ซึ่งธุรกิจ SME สามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ข้อดีของ SME 1. จัดการทุกอย่างได้ง่าย เจ้าของธุกิจสามารถจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง มีความอิสระ คล่องตัวในการจัดการได้อย่างทั่วถึง 2. เจอวิกฤต โอกาสที่จะฟื้นตัวได้ง่ายกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดเล็กประสบปัญหารือเจอวิกฤต เกิดการเสียหาย ได้น้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ มีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้เร็วกว่า 3. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย ธุรกิจ SME สามารถเข้าถึงและมีความเป็นกันเอง ใกล้ชิดกับลูกค้า ทำให้เจาะกลุ่มลูกค้าได้ง่ายกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ 4. ปรับเปลี่ยน และยืดหยุ่นได้ง่าย ธุรกิจขนาดใหญ่มักจะมีกฏระเบียบที่ชัดเจน ทำให้ปรับเปลี่ยน ธุรกิจได้ยาก แต่ธุรกิจขนาดเล็ก สามารถปรับเปลี่ยน และยืดหยุ่นได้มากกว่า 5. การลงทุนไม่สูง เจ้าของธุรกิจอยากลงทุน หรือทำอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจ ก็สามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะถ้าเปรียบเทียบการลงทุนกับธุรกิจขนาดใหญ่มักจะมีต้นทุนที่สูงกว่า การตัดสินใจในการลงทุนแต่ละครั้งก็จะซับซ้อนและหลายขั้นตอนมากกว่า 6. ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก ธุรกิจ SME ส่วนใหญ่ เกิดมาจากเจ้าของธุรกิจมีความชอบและถนัดในการประกอบธุรกิจนั้นๆ ทำให้ประกอบธุรกิจอย่างมีความสุข ขอบคุณบทความดีๆจาก : https://medium.com/longdocards

ปรับมาตรฐานอาชีพ ในยุค ‘Disruptive technology’

ทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก ทั้งนโยบายที่มุ่งไปสู่การเป็น Thailand 4.0 นโยบายของรัฐด้านกำลังคน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ทำให้ประเทศต้องปรับทิศทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วยการใช้นวัตกรรมมากขึ้นและพัฒนาคนให้มีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญ แต่การพัฒนาประเทศยังประสบปัญหาความไม่สอดคล้องของตลาดแรงงาน ที่ยังคงมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นในขณะที่ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานระดับกลางในสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และยังมีแรงงานส่วนเกินในระดับปริญญาตรี อีกทั้ง แรงงานมีสมรรถนะ หรือทักษะความสามารถไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ ที่ผ่านมา ได้มีความพยายาม “พัฒนาระบบสมรรถนะ” หรือสร้างมาตรฐานความรู้  ความสามารถของกำลังคนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ความต้องการของตลาดแรงงานโดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาระบบสมรรถนะของประเทศ อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และสภา/สมาคมวิชาชีพต่างๆ รวมทั้ง ภาคเอกชนก็มีส่วนร่วม แต่คำถามสำคัญคือ ระบบสมรรถนะนั้น ถูกพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับทักษะที่ต้องการในอนาคตอย่างไรบ้าง ทั้งด้านเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์ และทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นต้น เพื่อรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก จากเทคโนโลยี ต่างๆ และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่จะทำให้คนตกงานเป็นจำนวนมาก...

โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างไรต่อตลาดอสังหาฯ ไทยบ้าง

โควิด-19 จะต้องอยู่กับเราไปอย่างน้อย 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง ซึ่งหมายความว่า เศรษฐกิจไทยจะไม่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วอย่างแน่นอน แต่จะขึ้นมาแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะสะท้อนไปที่อุปสงค์ของผู้ซื้อ ที่ส่วนหนึ่งมาจากคนไทยด้วยกันเอง ในเวลานี้ผู้คนจะหันไปซื้อสินค้าที่มีความจำเป็นก่อน แล้วค่อยหันมาสนใจสินค้าที่จำเป็นน้อยกว่า อสังหาฯ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ผลกระทบของโควิด-19 ยังทำให้บางอาชีพได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ และบางอาชีพก็เป็นผู้ซื้อหลักของอสังหาฯ ไทย เช่น นักบิน แอร์โฮสเตส ผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทำให้การลงทุนต่าง ๆ ลดลง “เป็นไปได้ว่าภาคการท่องเที่ยวจะกลับมาช้า โดยเฉพาะจากต่างประเทศ เนื่องจากมีความกังวลทั้งจากฝั่งเราและชาวต่างชาติ ผลกระทบที่ตามมาของภาคท่องเที่ยวจะส่งผลต่อกำลังซื้อจากต่างชาติ ซึ่งมีสัดส่วนการถือครองคอนโดฯ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นดีมานด์ตลาดคอนโดฯ จะได้รับผลกระทบแน่นอน” ดร.นณริฏ กล่าว สนใจและอ่านเพิ่มเติมที่ : www.ddproperty.com/ข่าวอสังหาริมทรัพย์-บทความ